ในระบบ Digital DVB-T Modulator for Large Scale นั้น จะมีขนาดของระบบที่ใหญ่ สามารถรองรับช่องรายการได้เป็นจำนวนมาก อุปกรณ์แต่ละตัวจะใช้รับสัญญาณตามชนิดของแหล่งที่มานั้นๆ เช่น จานดาวเทียม คอมพิวเตอร์ กล้องวงจรปิด เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องเล่นบลูเรย์ หรือ กล่อง STB จากช่อง pay TV เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้จะแปลงข้อมูลเป็น IP เพื่อส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ Modulator ผ่านทางตัว switch ด้วยสายแลน จากนั้นข้อมูลที่แปลงเป็น IP จะถูก Modulator ทำการ Modulate สัญญาณในมาตรฐาน DVB-T เป็นคลื่นความถี่วิทยุ (RF) ออกมา โดยสามารถตั้งค่าเพื่อจัดการช่องรายการทั้งหมด ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ได้ ส่วนการรับสัญญาณสามารถใช้ดิจิตอลทีวีรุ่นใหม่ หรือ กล่องทีวีดิจิตอลตามที่กสทช.รับรองได้เลย ซึ่งจุดเด่นของระบบนี้ คือ- รองรับจำนวนช่องรายการได้มากกว่า 50 ช่อง ทั้งแบบ HD และ SD ได้ตามความต้องการ
- การปรับเปลี่ยนช่องรายการและการตั้งค่าทำได้ง่าย
- รองรับการใช้งานเพื่องานระบบขนาดใหญ่ มีพื้นที่การแพร่สัญญาณมาก
- สามารถรีโมทจากข้างนอกห้องควบคุมเข้าไปที่ตัวอุปกรณ์แต่ละเครื่อง เพื่อเปลี่ยนการตั้งค่าได้
DVB-T เป็นการส่งสัญญาณดิจิตอลภาคพื้นดิน ใช้เทคนิคผสมคลื่นวิทยุ COFDM (Coded Orthogonal Frequency Division Multiplexing) เป็นการแบ่งคลื่นส่งวิทยุเป็นคลื่นสัญญาณวิทยุย่อยๆหลายความถี่ โดยในแต่ละคลื่นความถี่ย่อยสามารถผสมสัญญาณวิทยุในระบบ QPSK เนื่องจากระบบการส่งใช้
คลื่นความถี่มากและในการส่งสัญญาณมีการสะท้อนของคลื่นสัญญาณมาก จึงต้องออกแบบต่างจากการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมและในเคเบิล และในการรับสัญญาณอาจมีความผิดพลาด จึงมีการใช้ error correcting (Reed-Solomon) ส่งสัญญาณโทรทัศน์ย่าน VHF และ UHF ซึ่งความกว้างช่องสัญญาณ Bandwidth 7-8 MHz ในการส่งสัญญาณจะได้ข้อมูล 16.59 Mbit/s
DVB-T2 เป็นการพัฒนาเป็นเจนเนอเรชันที่สองต่อจาก DVB-T ซึ่งทำให้มีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงกว่า DVB-T สัญญาณมีความคงทนมากกว่า
ปัจจุบันประเทศกว่า 59 ประเทศทั่วโลก รับเอามาตรฐาน DVB-T และ DVB-T2 ไปใช้งาน โดยทั้งนี้ มาตรฐาน DVB-T สามารถนำไปประยุกต์ให้สามารถทำการส่งผ่านสายสัญญาณเคเบิลได้อีกด้วย ซึ่งจะกล่าวต่อไปภายหลัง